ฟิสิกส์ - สมดุลกล - นิยาย ฟิสิกส์ - สมดุลกล : Dek-D.com - Writer
×

    ฟิสิกส์ - สมดุลกล

    สมดุลกล คือ การที่มีแรงลัพธ์มากระทำกับวัตถุแล้ววัตถุคงสภาพการเคลื่อนที่หรือพูดอีกอย่างว่าไม่มีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ กล่าวคือ ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็ยังคงสภาพนิ่งหรือ ถ้าเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงเดิม ซึ่งเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

    ผู้เข้าชมรวม

    7,181

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    119

    ผู้เข้าชมรวม


    7.18K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    14
    จำนวนตอน :  4 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  7 ก.พ. 56 / 19:05 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    สมดุลกล

    1. สมดุลกล
               สมดุลกล หรือ สมดุล (Equilibrium) คือสมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นไปตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน คือ วัตถุจะอยู่สภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ถ้าแรงลัพย์ที่กระทำต่อวัตถุเป็นศูนย์ สมดุลจะแบ่งได้เป็น
               1. สมดุลสถิตย์ เป็นสมดุลของวัตถุขณะอยู่นิ่ง เช่น สมุดวางบนพื้นโต๊ะ กล่องวางบนหลังตู้ และสิ่งที่อยู่ในสภาพนิ่งไม่ล้มลงมา เป็นต้น
               2. สมดุลจนย์ เป็นสมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวได้ เช่น รถยนต์ที่แล่นไปตามถนน ลังที่ไถลลงมาตามพื้นเอียง เป็นต้น
     

    2. สมดุลต่อการเคลื่อนที่
               การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็งอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
                      1. การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ คือ ทุกส่วนเลื่อนไปทางเดียวกัน
                      2. การเคลื่อนที่แบบหมุน คือ มีส่วนหนึ่งเป็นแกนหมุนและส่วนอื่นๆ เคลื่อนที่หมุนรอบแกน
     

    3. การหาแรงลัพย์ และการรวมเวคเตอร์ โดยวิธีสร้างรูป
               แรงเป็นปริมาณเวคเตอร์ การหาแรงลัพย์ของแรงย่อยทั้งหมดทำได้โดยการเขียนรูปแบบหางต่อหัว
     

    4. การแยกแรง และการหาแรงลัพย์ โดยวิธีคำนวณ
               การแยกแรง คือ การแยกแรง 1 แรงออกเป็นแรงองค์ประกอบ 2 แรงซึ่งตั้งฉากกัน อยู่ตามแนว X และแกน Y

    5. แรงเสียดทาน (Force of Friction)
               แรงเสียดทางเป็นแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัส ของวัตถุกับพื้น มีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุแบ่งเป็น2ชนิด คือ      1. แรงเสียดทานสถิตย์ เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุอยู่นิ่ง จนถึงเริ่มต้นเคลื่อนที่ แรงนี้จะมีค่าตั้งแต่ศูนย์จนถึงค่าสูงสุดค่าหนึ่งตอนวัตถุเริ่มจะเคลื่อนที่
                          2.แรงเสียดทานจลน์ เป็นแรงเสียดทานขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว แรงนี้จะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิต

    6. ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง
                1. จุดศูนย์กลางมวล คือจุดรวมมวลของวัตถุ ซึ่งอยู่ภายนอกวัตถุหรือภายในวัตถุก็ได้ ถ้าแรงมากกระทำต่อวัตถุแล้วผ่านจุดนี้วัตถุจะเคลื่นที่แบบเลื่อนตำแหน่งเพียงอย่างเดียว ถ้าแนวแรงไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลวัตถุจะมีการเคลื่อนที่แบบหมุนด้วย
                  2. จุดศูนย์ถ่วง คือจุดเสมือนรวมน้ำหนักของวัตถุจุดนี้จะมีเพียงจุดเดียวสำหรับวัตถุหนึ่ง แนวของน้ำหนักที่ผ่านจุดนี้จะอยู่ในแนวดิ่งเสมอไม่ว่าจะวางวัตถุไว้ในลักษณะใดก็ตาม และอาจอยู่ภายในหรือวัตถุภายนอกก็ได้

    7. สมดุลต่อการหมุน
                   แรงขนาน   คือ  แรงที่กระทำต่อวัตถุเดียวกันและอยู่ในแนวเดียวกันอาจแบ่งเป็น
                              1.แรงขนานพวกเดียวกัน คือแรงขนานที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกันจะมีผลทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่

                              2. แรงขนานต่างพวก คือแรงขนานที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามจะทำให้วัตถุเกิดการหมุน เราเรียกแรงประเภทนี้ว่า แรงคู่บวก
     

    8. สมดุลสัมบูรณ์
                    ถ้าวัตถุอยู่ในสมดุลต่อการเคลื่อนที่และสมดุลต่อการหมุน แสดงว่าวัตถุนั้นสมดุลสัมบูรณ์
     

    9. เสถียรภาพของสมดุล
                    ลักษณะของสมดุลแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
                             1. สมดุลเสถียร วัตถุที่อยู่ในสมดุลเสถียรเมื่อได้รับแรงกระทำเพียงเล็กน้อยจะทำให้จุดศูนย์กลางมวลของวัตถุมีระดับสูงขึ้น แต่แนวของน้ำหนักไม่ออกนอกฐานวัตถุจึงกลับสู่สภาพเดิมได้
                               2. สมดุลสะเทิน วัตถุเมื่อได้รับแรงกระทำจะวางตัวอยู่ในลักษณะเดิม และจุดศูนย์กลางมวลยังอยู่ในลักษณะเดิม
                              3. สมดุลไม่เสถียร วัตถุที่อยู่ในสมดุลไม่เสถียรถ้าได้รับแรงกระทำเพียงเล็กน้อยจะทำให้จุดศูนย์กลางมวลลดระดับลงจากเดิม และเมื่อเอาแรงกระทำออกก็ไม่สามรถกลับสู่สภาพเดิมได้เพราะแนวของน้ำหนักออกนอกฐานไปแล้ว
     

    10.การนำหลักการสมดุลไปประยุกต์
                  หลักการสมดุลและโมเมนต์นำไปใช้ในชีวิตประจำวันมาก เช่น การก่อสร้าง ใช้คำนวณหาแรงรับและแรงกระทำต่อสิ่งต่างๆ หรือใช้กับเครื่องผ่อนแรงชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า คาน กว้าน ไขควง

                                                                         จัดทำโดย

                                                              นาย  ปฏิภาณ    ทองอ่วม
                                                               นาย  กรมิษฐ์   เจนจิรวัฒน์
                                                                 นาย  ภูพัทธ์   สิทธิภูมิมงคล
                                                                  นาย  กฤษดา   สุนทรวุฒิไกล
                                                                   นาย  กิตตินันท์   อัคคะภิญโญ

    ม.4/1

    โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น